งานฝีมืออันงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยภูเขาหลากหลายชนเผ่าเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดในการจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2515 เพื่อรับซื้องานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์จากหมู่บ้านต่างๆ มาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม
อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงริเริ่มโครงการผู้นำเยาวชนชาวเขา (Hill Tribe Youth Leadership) ระหว่าง พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2528 เพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนชาวเขาจากถิ่นห่างไกลที่การศึกษายังเข้าไม่สามารถเข้าถึง โดยเป็นที่พักพิงให้เยาวชนเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ช่วยกันทำงานบ้าน ปลูกผัก ทำอาหารด้วยกัน เพื่อฝึกการพึ่งพาตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้น นอกจากจะได้รับการศึกษาจากการโรงเรียนเรียนในโรงเรียนในเมืองแล้ว พวกเขายังได้รับการสอนวิชาการพื้นฐานและทักษะการดำรงชีวิต ซึ่งจะปูพื้นฐานทักษะเหล่านี้ให้พวกเขามีความเสียสละ ขยัน และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมต่อชุมชนพวกเขาในอนาคต เป็นที่มาของการเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ‘ไร่แม่ฟ้าหลวง’ ที่ไม่ได้ปลูกพืช แต่มีพันธกิจในการ “ปลูกคน”
ต่อมา โครงการพัฒนาชนบทโดยภาครัฐเริ่มเข้าถึงชุมชนห่างไกลมากขึ้น อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงจึงปรับบทบาทมาเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมล้านนา ปัจจุบันถือเป็นที่เก็บรักษาและรวบรวมศิลปะล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง’