ผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” ของคนไทยทรงมั่นคงในพระราชปณิธานที่จะสร้างโอกาสและทางเลือกในการดำรงชีวิตให้กับพสกนิกร ด้วยพระราชหฤทัยเชื่อมั่นในความดีและศักยภาพของมนุษย์ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมาจากที่ไหน หรืออยู่แห่งหนใดบนแผ่นดินไทย แม้แต่บนยอดดอยสูงเสียดฟ้าที่น้อยคนจะดั้นด้นไปถึงก็ตาม
สมเด็จย่าทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 เพื่อรับซื้อหัตถกรรมชนเผ่าและช่วยต่อรองราคาอันเป็นธรรมกับตลาด ต่อมาใน พ.ศ. 2528 ขอบเขตการทำงานขยายครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ปัจจุบัน คือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์) โดยทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 กรุยทางให้แนวทางการพัฒนาตามตำราแม่ฟ้าหลวงคือการ “ปลูกป่า ปลูกคน” ได้เริ่มต้นขึ้น พลิกฟื้นคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่และผืนป่าผ่านกุศโลบายที่ชักชวนให้ชุมชนดอยตุงมีรายได้สุจริตควบคู่กับการอนุรักษ์ป่า
พร้อมกับสิ่งของ อาหาร เครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์มาเยี่ยมเยียนพวกเขา
เสมือนเสด็จจากฟากฟ้ามาปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย ชาวไทยภูเขาจึงพร้อมใจกัน
กล่าวขานพระนาม ‘แม่ฟ้าหลวง’
UNESCO หรือองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติบันทึกพระนามสมเด็จย่าไว้ในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลกประจำ พ.ศ. 2543 ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมถึง 5 สาขาด้วยกัน ได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จุดเริ่มต้น
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมชื่อ มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ตามพระราชดำริเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมการตลาดให้งานหัตถกรรมชาวเขาจนกระทั่งเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนชาวเขากว่า 400 คนด้วย
เมื่อ พ.ศ. 2528 มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทยฯ เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมกับการเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและสังคมของชาวเขาและชาวพื้นราบที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม งานพัฒนาครบวงจรของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เริ่มขึ้นเมื่อปี 2531 ที่ดอยตุง ในจังหวัดเชียงราย
หลังจากที่สมเด็จย่าสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นนายกกิตติมศักดิ์ จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบัน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังคงทำงานสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จย่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประโยชน์ให้คนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ในการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
รางวัลและความสำเร็จ
องค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องสมเด็จย่าให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก
ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2543มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับตราสัญลักษณ์ UNODC
รับรองว่าผลิตภัณฑ์ดอยตุงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โลกปลอดยาเสพติด พ.ศ. 2545หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล (เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในขณะนั้น)
ได้รับเลือกเป็นหนึ่งผู้ประกอบการเพื่อสังคมดีเด่นสำหรับภาคพื้นเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จาก Schwab Foundation for Social Entrepreneurship พ.ศ. 2552โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้รับรางวัล “เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2554มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงานระดับดีมาก
จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2554สำนักงานมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัลดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงาน
ประเภทอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานอาคารใหม่พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2556มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัล Green Office
สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีมาก จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัลนิเคอิเอเชีย (Nikkei Asia)
ในฐานะองค์กรยอดเยี่ยมของเอเชียด้านการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรม จากหนังสือพิมพ์และสำนักข่าวนิเคอิของประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2557มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รับโล่ประกาศเกียรติคุณการเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER) ใน 2 พื้นที่โครงการขยายผล ได้แก่ โครงการปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียง รักษาต้นน้ำ บรรเทาอุทกภัย จังหวัดน่าน และโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ จังหวัดเชียงรายพ.ศ. 2560แบรนด์ดอยตุงได้รับ ‘รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม’ (DEmark)
หรือ Design Excellence Award ประเภทสินค้าแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ จากสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2561มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยสามารถลดความเข้มของการใช้พลังงานลงได้ถึงร้อยละ 36 และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 45 ภายในระยะเวลา 5 ปี พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561กระทรวงวัฒนธรรมประกาศให้ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็น 1 ใน 10 สุดยอดแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของไทย
ที่ให้ทั้งความรู้ และมีพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา พ.ศ. 2562แบรนด์ดอยตุงได้รับ ‘รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม’ (DEmark)
หรือ Design Excellence Award ประเภทสินค้าแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ จากสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2554พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
แบรนด์ดอยตุงประเภทสินค้าแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ ได้รับรางวัล Good Design Award (G-Mark)
ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น Japan Institute of Design Promotion (JDP) พ.ศ. 2554พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รับโล่รางวัล G Green Production จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเภทสิ่งทอระดับดีเยี่ยม และประเภทเซรามิกระดับดีเยี่ยม เพื่อรับรองว่าแบรนด์ดอยตุงผลิตสินค้าหัตถกรรมจากชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งงานผ้าฝ้ายทอมือ และเซรามิก พ.ศ. 2562พ.ศ. 2563