มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้มีโอกาสส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือการประชุมโลกร้อน ‘COP29’ ที่ปีนี้มาในธีม Finance จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2024 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน และได้นำบทสรุปที่น่าสนใจมาฝาก ดังนี้ค่ะ
#Article6.4 เรื่องมาตรฐานของคาร์บอนเครดิต ผ่านที่ประชุมเลยตั้งแต่วันแรก มาตรฐานนี้ช่วยแก้ไขปัญหาการฟอกเขียวหรือดราม่าของบางเครดิตที่ไม่ได้มาตรฐาน (Voluntary Credit) และทำให้ซื้อขายกันได้ระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตที่เคยตกลง ดีดตัวกลับขึ้นมาอีก สายคัดค้านบอกว่าเนื้อหาในข้อตกลงบางประโยคยังอ่อนเกินไป และเป็นช่องว่าง ในขณะที่เวทีเจรจาเองก็ตั้งใจจะเปิดหลวมๆ ไว้หน่อย เพื่อให้ตั้งบนวิทยาศาสตร์และเครื่องมือที่อัพเดทสุดในขณะนั้นได้
#เงินทุน มีข้อตกลงกันว่าประเทศพัฒนาจะช่วยลงเงินปีละ 3 แสนล้าน USD ต่อปี โดยตอนแรกจะได้ที่ 2.5 แสนล้าน แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องการมากกว่านี้ อ้างอิงจากการคำนวณและรายงานต่างๆ บอกว่า GAP อยู่ที่ “1.3 #ล้านล้าน” ไม่ใช่ #แสนล้าน
Loss & Damage Fund คือกองทุนการสูญเสียและความเสียหายที่ตั้งมาตั้งแต่ COP27 เพิ่งจะเริ่มดำเนินการ ที่มาคือเงินก้อนนี้ปกติจะใช้สำหรับการลดและปรับตัว (Mitigation and Adaptation) เลยมีกองนี้ขึ้นมาอีกกองสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไปแล้วเอาไปเยียวยา
อื่นๆ เป็นการโชว์เคสว่าใครทำอะไรอยู่ เทคโนโลยีใหม่ๆ มีอะไรบ้าง
#COP30 ปีหน้าจัดที่บราซิล ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โดยแต่ละประเทศต้องส่ง #NDC หรือแผนประเทศใหม่ แล้วมาดูกันว่า Net Zero Plan ของเราจะขยับมาเร็วขึ้นไหม
เครดิต : ภาพและข้อมูล โดย ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ