ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2561 – 2572

พื้นที่โครงการ

37,119 ไร่ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม ครอบคลุม 4 หมู่บ้านหลัก ได้แก่ บ้านเมืองงามเหนือ, บ้านห้วยส้าน, บ้านหัวเมืองงาม และบ้านเมืองงามใต้ และอีก 20 หมู่บ้านย่อยในตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 4,297 คน
จาก 1,067 ครัวเรือน

ภาพรวมโครงการ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับการชักชวนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการสร้างโอกาสและทางเลือกในการทำงานสุจริตแก่ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยส้านและลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม เน้นการแก้ปัญหาที่แก่นคือความยากจนและการขาดโอกาส ด้วยการจูงใจให้ชาวบ้านหันมาประกอบอาชีพสุจริตแทนการทำสิ่งผิดกฎหมายและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชน เป้าหมายระยะยาวคือการพัฒนาโครงการให้เป็นต้นแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่สังคมเมืองอย่างยั่งยืน

ชาวบ้านได้อะไร

ชาวบ้าน

2,684 คน

(62% ของชาวบ้านในพื้นที่โครงการ)
ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบน้ำอุปโภคและบริโภค ทำให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี
พื้นที่ได้รับน้ำเพิ่ม

3,554 ไร่

(25% ของพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่โครงการ)
เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร 1,123 คน
ผลผลิตข้าวนาเพิ่มขึ้น

30%


ผลผลิตข้าวไร่เพิ่ม

12%

การส่งเสริมด้านการเกษตร เช่น การปลูกฟักทอง เก๊กฮวย สร้าง รายได้รวม

1,585,582 บาท

(62% ของชาวบ้านในพื้นที่โครงการ)
พร้อมลดรายจ่ายผ่านกิจกรรมปลูกผักสวนครัว ‘ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก’
ร่วมกับบริษัท ซีพี สตาร์เลนส์ สนับสนุนช่องทางการตลาดและองค์ความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลบ้านห้วยส้าน สามารถส่งผลผลิตขายตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้รวม

804,225 บาท

กองทุนปศุสัตว์เพิ่มความมั่นคงทางอาหารและสินทรัพย์ของครัวเรือน มูลค่ารวม

1,456,070 บาท

การจ้างงานกลุ่มสตรีบ้านห้วยส้านผลิตสินค้าหัตถกรรมภายใต้แบรนด์ดอยตุง สร้างรายได้ทั้งสิ้น

1,005,241 บาท

ตลาดชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาด้านการแปรรูปและท่องเที่ยว สร้างรายได้รวม

3,664,652 บาท

สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีให้กับเด็กนักเรียนในระดับ อนุบาล-ประถมศึกษา ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่งในพื้นที่โครงการ จำนวนเด็กนักเรียนที่ได้ประโยชน์ทั้งหมด

761 คน

ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. และหน่วยราชการในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมอาสาทำดี ซึ่งนำผู้เสพยาเสพติดที่สมัครใจเลิกยาด้วยตนเอง รวม

146 คน


มีทักษะและทุนประกอบอาชีพเพื่อให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพสุจริตภูมิคุ้มกันต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกในอนาคต ส่งผลให้มีคนที่กลับมาเสพซ้ำเพียง

12%

จ้างงานชาวบ้านเพื่อสนับสนุนงานของโครงการ สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ประมาณ

150 คน


เฉลี่ยรวม

1,240,000 บาท/เดือน